เหมาะสำหรับ พนักงานทุกคน


หลักการและเหตุผล
ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) หมายความว่าข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยในกฎหมาย พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 นี้ จะมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้องบทบัญญัติเกี่ยวกับการร้องเรียน ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กรอย่างมาก
ข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการเก็บรักษาข้อมูลไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลของพนักงาน ข้อมูลของลูกค้า หากข้อมูลเหล่านี้ถูกเผยแพร่โดยไม่ได้รับการอนุญาต จะส่งผลกระทบกับการชดเชยค่าสินไหมต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องควรระวังการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะการปรับปรุงงานและเอกสารต่างๆ ของหน่วยงานในองค์กร ให้สอดคล้องตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA for Organization) จึงเป็นเรื่องสำคัญมากในการดำเนินงาน และการดำเนินธุรกรรมขององค์กรต่อไป

 

วัตถุประสงค์การอบรม
1. เพื่อให้ทราบความสำคัญและแนวคิดของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่เกี่ยวกับหน่วยงานในองค์กร เช่น หน่วยงานทรัพยากรบุคคล (HR) หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง หน่วยงานการขายและการตลาด หน่วยงานวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล หน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในผลของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ต่อการบริหารจัดการงานของหน่วยงานในองค์กร และต่อการดำเนินงานขององค์กร
3. นำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงงานและเอกสารต่างๆ ของหน่วยงานในองค์กร ให้สอดคล้องตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

 

หัวข้อการอบรม
1. อธิบาย สาระสำคัญ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
– หน้าที่ความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้องตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
– นิยามศัพท์ต่างๆ ใน พ.ร.บ. นี้ แนวทางการดำเนินการ พ.ร.บ. นี้ ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลอ่อนไหว หลักการเก็บรวบรวม ใช้ เผยแพร่ข้อมูล หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูล ผู้ประมวลผลข้อมูล สิทธิของเจ้าของข้อมูล
– อธิบายรายละเอียด พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ ปรับปรุงงานและเอกสารต่างๆ ของหน่วยงานในองค์กร ให้สอดคล้องตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA for Organization)
– ความรับผิดทางแพ่ง ความรับผิดทางอาญา โทษทางปกครอง และค่าสินไหม ค่าปรับต่าง ๆ
2. พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ผลกระทบต่อการบริหารจัดการงานในองค์กร งานทรัพยากรบุคคล (HR) งานจัดซื้อจัดจ้าง งานการขายและการตลาด งานวิเคราะห์ข้อมูล งานเทคโนโลยีสารสนเทศ และงานอื่นๆ และข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในงานต่างๆ
หัวข้อการอบรม
3. การกำหนดนโยบายการบริหารจัดการตาม PDPA ในการขอเก็บ การใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล พนักงาน ผู้สมัครงาน ลูกค้า คู่ค้า ผู้มาติดต่อกับองค์กร การจัดเตรียมข้อมูลตามข้อกำหนดใน พ.ร.บ. นี้
4. การจัดตั้งคณะทำงาน PDPA ในองค์กร และการแต่งตั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
5. แนวทางการปรับปรุงงาน เอกสารต่างๆ แบบฟอร์ม ข้อมูลของหน่วยงานในองค์กร ให้สอดคล้องตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA for Organization)
5.1 หน่วยงานทรัพยากรบุคคล (HR) เช่น การจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน การรับสมัครงาน-ใบสมัครงาน ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน สัญญาจ้างงาน เอกสารการขอความยินยอม ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ-การเบิกค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
5.2 หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง เช่น การจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในการจัดซื้อจัดจ้าง การทำสัญญา เป็นต้น
5.3 หน่วยงานการขายและการตลาด เช่น การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและการทำตลาด ฐานการประมวลผลข้อมูลที่เกี่ยวข้องและข้อควรระวัง เป็นต้น
5.4 หน่วยงานวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการประมวลผลข้อมูล (Data Analytics) ทั้งเชิงพรรณนาและเชิงทำนาย เป็นต้น
5.5 หน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น มาตรฐานสำหรับระบบบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
5.6 หน่วยงานอื่น เช่น ธุรการ การเงินบัญชี เป็นต้น
6. ถาม-ตอบปัญหา PDPA

 

รายละเอียดและเทคนิคที่อาจารย์ใช้ในการดำเนินการฝึกอบรม

  • การบรรยาย 40 %
  • เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 60%

ผู้ประสานงานหลักสูตร
อ.นัน
084-4344-971, 061-651-6149
thematrixtraining@gmail.com