
หลักสูตร 1 วัน
- วิทยากรอาจารย์นันทชัย อินทรอักษร -
การควบคุมกระบวนการโดยใช้เทคนิคทางสถิติ
(Statistical Process Control (SPC))
หลักการและแนวความคิด
การนำสถิติมาใช้ในการควบคุมกระบวนการในยุคปัจจุบันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่มีส่วนช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จเหนือคู่แข่งในการผลิตผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูง สอดคล้องตามความต้องการและข้อกำหนดของทางลูกค้า อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้เกิดการป้องกันความบกพร่องที่จะเกิดขึ้นในการผลิตผลิตภัณฑ์ในระยะยาวได้อีกด้วย แต่การที่จะทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้นั้น ความจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลากรในส่วนที่เกี่ยวข้องด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ควรมีความรู้และความเข้าใจในการนำเทคนิคทางสถิติมาใช้ในการควบคุมกระบวนการอย่างถูกต้องและมีความเหมาะสม ตลอดจนมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในส่วนของการคำนวณและตีความหมายของดัชนีวัดเชิงสถิติที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมได้ ซึ่งจะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการนำไปปรับปรุงและพัฒนาขีดความสามารถในเชิงของกิจกรรมด้านการผลิตภายในโรงงานให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องได้
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจหลักการของการควบคุมกระบวนการโดยใช้เทคนิคด้านสถิติและการวิเคราะห์ขีดความสามารถของกระบวนการตามมาตรฐาน ISO/TS 16949:2009
เพื่อให้มีความเข้าใจในหลักการทางสถิต
เพื่อให้มีความเข้าใจในการควบคุมกระบวนการ
เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับแผนภูมิควบคุมชนิดต่างๆ
สามารถนำแผนภูมิควบคุมไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมกระบวนการในองค์กรได้
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
แนวคิดและวิวัฒนาการด้านสถิติ
ความสำคัญและความหมายของสถิติ
แนวทางการนำสถิติไปใช้ภายใต้เงื่อนไขของระบบการจัดการด้านคุณภาพ ISO/TS16949:2009
ประโยชน์ของการนำสถิติไปใช้ในการควบคุมกระบวนการ
ทบทวนความรู้พื้นฐานทางด้านสถิติ
ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาและการนำสถิติไปใช้ในการควบคุมกระบวนการ
เทคนิคการควบคุมกระบวนการและการคำนวณ โดยใช้สถิติ เครื่องมือทางสถิติ Control Chart ประเภทต่างๆ ได้แก่
- Variable Control Chart
- Xbar-R Chart, Xbar-S Chart, X-MR etc.
- Attribute Control Chart ,P Chart, np Chart, C Chart และ U Chart
เทคนิคการวิเคราะห์ และตีความหมายของความผิดปรกติ ในแผนภูมิควบคุมด้านต่างๆ
การดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องเมื่อเกิดความผิดปกติ
แนวคิดของการศึกษาความสามารถของกระบวนการ
เทคนิคการคำนวนค่าความสามารถของกระบวนการ (Cp, Cpk, Pp, Ppk)
การวิเคราะห์ และตีความหมายของดัชนีวัดความสามารถประเภทต่างๆ และการนำไปปรับปรุงเพื่อยกระดับขีดความสามรถของกระบวนการ
กรณีศึกษากิจกรรมการใช้เครื่องมือทางสถิติ ในการควบคุมกระบวนการ และการวิเคราะห์ค่าความสามารถของกระบวนการ
รายละเอียดและเทคนิคที่อาจารย์ใช้ในการดำเนินการฝึกอบรม
การบรรยาย 40 %
เกม / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 30%
การแบ่งปันการเรียนรู้ร่วมกัน + การแข่งขันกระตุ้นผลงาน 20 %