
หลักสูตร 1 วัน
- วิทยากรอาจารย์นันทชัย อินทรอักษร -
ไคเซ็น & TPM (AM) เพื่อการเพิ่มผลผลิต
(Kaizen & TPM (AM) for Productivity Improvement)
หลักการและแนวความคิด
การเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกองค์กรควรจะทำความเข้าใจ และให้ความสำคัญ เพราะจะช่วยให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน และดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนระบบที่ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพในองค์กรมีมากมาย องค์กรจำเป็นที่จะต้องเลือกประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของการทำงาน และวัฒนธรรมองค์กรของตนเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ ลดความสูญเสีย มีต้นทุนในการดำเนินงานที่เหมาะสม และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันเวลาระบบข้อเสนอแนะไคเซ็น (Kaizen Suggestion System) เป็นระบบหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพในองค์กรอย่างเป็นระบบ เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร โดยมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรให้มีกระบวนการคิด วิเคราะห์ และปรับปรุงงานที่ตนเองรับผิดชอบได้อย่างเป็นระบบ ระบบข้อ เสนอแนะ ไคเซ็นเป็นระบบที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน พนักงานสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายจึงได้รับการตอบรับที่ดีจากพนักงานในการดำเนินการ จึงทำให้ระบบข้อเสนอแนะไคเซ็นเป็นระบบการเพิ่มผลิตภาพระบบหนึ่งที่มีการนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรอย่างแพร่หลาย
ในธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรเป็นหลักในการผลิตมักไม่ได้สนใจหาวิธีการใช้และบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง ผลที่ตามมาก็คือเครื่องจักรเสียบ่อย ต้องเสียเวลาซ่อมและเวลาการผลิต เครื่องจักรไม่มีสมรรถนะการทำงานที่ดีผลิตชิ้นงานออกมาไม่ได้ตามข้อกำหนดอย่างสม่ำเสมอ สัมพันธภาพที่ไม่ดีระหว่างหน่วยงานผลิต และหน่วยงานซ่อมบำรุง ทำให้เกิดการแก้ไขงานที่มีผลทำให้ต้นทุนสูง การส่งมอบไม่ทันเวลา ซึ่งส่งผลให้ขาดความสามารถในการแข่งขัน เทคนิคที่สามารถช่วยทำให้เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์ (Zero Breakdown) เป็นเทคนิคการบำรุงรักษาที่เป็นความร่วมมือระหว่างพนักงานหน่วยซ่อมบำรุง และพนักงานหน่วยผลิตซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่น และเป็นที่นิยมใช้ในประเทศต่าง ๆ คือการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งสามารถทำให้ใช้เครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิผลลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาและผลิตสินค้าได้คุณภาพและปริมาณตามความต้องการของลูกค้า
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อให้เข้าใจถึงแนวคิด หลักการ และแนวทางการทำไคเซ็น
เพื่อให้ทราบถึงการวางระบบบริหารไคเซ็น Step by Step
เพื่อให้เข้าใจวิธีการคิดไคเซ็นและสามารถนำไปประยุกค์ใช้ในองกรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการของการบำรุงรักษา และขั้นตอนการบำรุงรักษาทวีผล
เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการบำรุงรักษาที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการผลิต
สามารถวางแผนและดำเนินการ TPM ได้อย่างเป็นขั้นตอน มุ่งเน้นในหัวข้อ AM
เพื่อให้ทราบถึงวิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง
เพื่อเสริมสร้างทักษะจากกรณีศึกษาจากโรงงานตัวอย่าง
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
แนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพ และการเพิ่มผลผลิตด้วยหลัก QCDSMEE
ไคเซ็นเพื่อการเพิ่มผลผลิต ด้วยเทคนิคการลดความสูญเสีย 7 ประการ
ขั้นตอนและเครื่องมือในการปรับปรุงงาน
เทคนิคในการมองปัญหา
ไคเซ็นกับเทคนิคการปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่อง และการจัดการระบบไคเซ็นในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ
TPM : แนวคิดและความสำคัญ
ชนิดของการบำรุงรักษา
การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM)
12 ขั้นตอน และ 8 เสาหลักในการทำกิจกรรม TPM
ความสูญเสียหลักของเครื่องจักร (6 Big Losses)
การวัดประสิทธิผลของ TPM (OEE)
เสาหลักการปรับปรุงเพื่อลดความสูญเสีย (Focus Improvement)
เสาเหลักการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
เสาหลักการบำรุงรักษาเชิงวางแผน (Planned Maintenance)
เสาหลักอื่นในการดำเนินการกิจกรรม TPM
แนวทางในการดำเนินกิจกรรม TPM ในองค์กร
กรณีศึกษา และ Workshop
รายละเอียดและเทคนิคที่อาจารย์ใช้ในการดำเนินการฝึกอบรม
การบรรยาย 40 %
เกม / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 30%
การแบ่งปันการเรียนรู้ร่วมกัน + การแข่งขันกระตุ้นผลงาน 20 %