
หลักสูตร 1 วัน
- วิทยากรอาจารย์นันทชัย อินทรอักษร -
เทคนิคการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา
(Problem Solving and Decision Making Techniques)
หลักการและแนวความคิด
ปัญหา (Problem) ทำให้เกิดการพัฒนา ปัญหาไม่ใช่สิ่งเลวร้าย แต่ปัญหาคือผลลัพธ์ที่ไม่ตรงกับความคาดหวังของเรา ทัศนคติเบื้องต้นต่อปัญหาจึงมีความสำคัญมาก การมีมุมมองต่อปัญหาในเชิงบวกและการยอมรับว่ามีปัญหาเกิดขึ้น ทำให้ความคิดแก้ปัญหามุ่งไปที่ “เป้าหมาย” ที่ต้องการบรรลุให้สำเร็จ ในทางตรงกันข้ามการมีมุมมองต่อปัญหาในเชิงลบและไม่ยอมรับปัญหา ทำให้ความคิดจดจ่อไปที่ “อุปสรรคหรือปัญหา” ที่เกิดขึ้นแทน ซึ่งมีผลเสียต่อการแก้ปัญหาเป็นอย่างมาก ความชัดเจนใน “ปัญหาและวิธีปฏิบัติการแก้ไข” เป็นหัวใจที่สำคัญในการแก้ปัญหาให้ประสบความสำเร็จ ความสามารถในการระบุ “สาเหตุรากเหง้าของปัญหา” (Root Cause) สร้างความแตกต่างของวิธีการแก้ปัญหาอย่างสิ้นเชิง นำไปสู่ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ความสามารถในการกำหนด “มาตรการตอบโต้หรือวิธีปฏิบัติการแก้ไข” (Countermeasure) เป็นการตัดสินใจที่ต้องอาศัยเทคนิคการระดมสมองและความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking) ช่วยในการกำหนดแนวความคิดที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา (Appropriate Problem Solving)
การคิดแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่ดีต้องมาจากการพัฒนาทักษะการคิดและเครื่องมือแก้ปัญหาต่างๆ ให้มีความชำนาญ ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะการคิดต่างๆ ได้แก่ การแก้ปัญหาแบบทีม (Brainstorming), แผนผังสาเหตุและผล (Cause & Effect Diagram), แผนผังต้นไม้ (Logic Tree Diagram), เทคนิคการถามคำถามทำไม 5 ครั้ง (5 Why Technique), เทคนิคการตั้งคำถาม 5W+2H กับแผนภูมิแกนท์, และเทคนิคป้องกันปัญหา (List Problem & Corrective Action) เป็นต้น
การตัดสินใจเลือกวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา โดยการให้คะแนนจากการวิเคราะห์ปัจจัยผลกระทบ, ความเป็นไปได้ และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อช่วยให้องค์กรพัฒนาระบบการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ
เพื่อฝึกอบรมการใช้เครื่องมืออันทันสมัยเพื่อช่วยยกระดับการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้น
เพื่อปูพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน
เพื่อเรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการหาสาเหตุของปัญหาในระยะสั้น
เพื่อเรียนรู้วิธีการจัดการปัญหาเพื่อไม่ด่วนสรุปสาเหตุของปัญหา
เพื่อแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงาน
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
การคิดอย่างเป็นระบบ
ระบบและรูปแบบการคิด มี 7 รูปแบบ คือ
· การคิดแบบแตกแขนง (Lateral Thinking)
· เป็นความคิดในแนวตรง Vertical Thinking
· การคิดอย่างมีตรรกะ Logical Thinking
· การคิดสร้างสรรค์ Creative Thinking
· เป็นกระบวนการทางจิตสานึกเพื่อวิเคราะห์. Critical Thinking
· การคิดเชิงบวก Positive Thinking
· ความคิดในเชิงจริยธรรม Ethical Thinking
กระบวนการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
· การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)
· การออกแบบการแก้ไขปัญหา (Design Phase)
· การตัดสินใจเลือกวิธีที่จะแก้ปัญหา (Decision Making)
· การนำไปปฏิบัติ (Implementation Phase)
· การตรวจสอบ (Monitoring Phase)
เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจ QC 7 Tools
ตัวอย่างการแก้ปัญหาด้วย 8D Report
รายละเอียดและเทคนิคที่อาจารย์ใช้ในการดำเนินการฝึกอบรม
การบรรยาย 40 %
เกม / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 40%
การแบ่งปันการเรียนรู้ร่วมกัน + การแข่งขันกระตุ้นผลงาน 20 %