
หลักสูตร 1 วัน
- วิทยากรอาจารย์นันทชัย อินทรอักษร -
5ส. เพื่อการเพิ่มผลผลิตและการประเมินผลงาน
(5S for Productivity & Auditor)
หลักการและแนวความคิด
อบรม 5ส. คือ กิจกรรมที่โรงงานแห่งนี้นำมาใช้ทำแล้วเป็นประโยชน์กับโรงงาน พนักงาน ลูกค้า และบุคคลภายนอก เพราะนอกจากทำให้โรงงานน่าอยู่น่าทำงานแล้ว การสูญเสียลดลงทั้งเรื่องการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่ามากขึ้น ต้นทุนการผลิตลดลง การเกิดอุบัติเหตุน้อยลง การสูญเสียเวลาในการหาสิ่งของทำได้รวดเร็วขึ้น พนักงานมีขวัญกำลังใจในการทำงานทำให้สินค้ามีคุณภาพขึ้น และ 5ส. ฝึกพนักงานให้มีระเบียบวินัย มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม รู้จักคิด หาวิธีปรับปรุงสถานที่ทำงานและวิธีการทำงาน
การส่งเสริมและผลักดันให้พนักงานทุกคนมีจิตสำนึก และความตระหนักในการมีส่วนร่วมในกิจกรรม 5ส. จะนำไปสู่ผลลัพธ์ของการดำเนินงานตามนโยบายและเป้าหมายที่บริษัทกำหนดและสิ่งสำคัญคือ การอบรมให้พนักงานทุกคนทราบขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 5ส. จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญเพื่อให้พนักงานดำเนินกิจกรรมไปในทิศทางเดียวกันก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและทำให้บริษัทประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการนำระบบมาตรฐานอื่นมาใช้ในโรงงานและสอดคล้องกับนโยบายการเพิ่มผลผลิตที่สามารถต่อยอดไปสู่โครงการอื่น ๆ เช่น TPM TQM QCC 7 Waste ISO HACCP เป็นต้น
หลักสูตรนี้นอกจากกล่าวถึงการลงมือทำ 5ส. แล้วยังมุ่งเน้นเรื่องการประเมินผลงานสำหรับหัวหน้า(Auditor) แบบยั่งยืนและได้มาตราฐาน ซึ่งหลายครั้งที่ผู้ประเมินผลงาน ประเมินแบบไม่มีข้อกำหนดที่แน่ชัด จนกลายเป็นคนทำ 5ส. ตามข้อกำหนดกลับได้คะแนนในการประเมินผลงานน้อย หลักสูตรนี้จะเป็นทางออกสำหรับผู้ประเมินผลอีกหลักสูตรหนึ่ง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ 5ส.เบื้องต้น
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำ 5ส.ไปใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อเป็นพื้นฐานของการเพิ่มผลผลิต
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำ 5ส.ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงวิธีการทำงานรวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
แนวคิดและหลักการที่สาคัญและเกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบ 5ส.
การมีส่วนร่วมและจิตสำนึกในการทำระบบ 5ส.
ผลประโยชน์ที่จะได้รับต่อตนเองงานและองค์กรในการทำระบบ 5ส.
แนวทางและขั้นตอนการดำเนินระบบ 5ส. ให้ประสบความสำเร็จ
การนำระบบ 5ส. ไปประยุกต์ใช้เพื่อการเพิ่มผลผลิต และปรับปรุงงาน
รูปแบบและการจัดทำมาตรฐานพื้นที่ระบบ 5ส. อย่างเป็นรูปธรรม
ฟอร์มการให้คะแนนในการประเมิน และมาตราฐานในการประเมิน
เทคนิคการตรวจประเมินระบบ 5ส. ให้ได้ผลและยั่งยืน
ตัวอย่างกรณีศึกษาการดำเนินการระบบ 5ส. ที่ประสบผลสำเร็จ
ปัจจัยที่ทำให้การปฏิบัติงานล้าช้าและล้มเหลวสู่ความสำเร็จต่อเนื่องและยั่งยืน
กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ (Best Practice)
สรุปการเรียนรู้และถามตอบ
รายละเอียดและเทคนิคที่อาจารย์ใช้ในการดำเนินการฝึกอบรม
วิธีการฝึกอบรม (ทฤษฏี 40% เชิงปฏิบัติการ 60%)
การบรรยาย-สาธิตเนื้อหาและทฤษฎี รวมทั้งชมภาพและวีดีทัศน์ประกอบ
ตัวอย่างกรณีศึกษาสำหรับการฝึกปฏิบัติ
กิจกรรมกลุ่มระดมสมอง – กิจกรรมกลุ่ม (Workshop)